Input your search keywords and press Enter.

ฝีมือคนไทยรถอัจฉริยะไร้คนขับ

Gistda จับมือ 3 มหาลัยชั้นนำไทย จัดสัมมนาโครงการศึกษาและวิจัยเครื่องมือสำรวจและประมวลผลสำหรับ SMART CITY พร้อมโชว์ผลสำเร็จรถอัจฉริยะไร้คนขับ 2 คัน ฝีมือคนไทย
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดทุกกระแสร้อนชลบุรี-พัทยา กดรับข่าว “พัทยานิวส์”ผ่านไลน์ได้แล้ววันนี้

ดร.ณัฐวัฒน์ หงส์กาญจนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (Gistda) เป็นประธานการแถลงข่าวและสัมมนาการสาธิตทดสอบรถอัจฉริยะไร้คนขับ Auto Matic Guided Vehicle :AGV พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ธนา ราษฎ์รภักดี หัวหน้าโครงการศึกษาและวิจัยเครื่องมือสำรวจและประมวลผลสำหรับ SMART CITY คณะผู้บริหาร นักวิจัย คณาจารย์ นิสิตนักศึกษา และสื่อมวลชน เข้าร่วมงานสัมมนา


ดร.ณัฐวัฒน์ หงส์กาญจนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ กล่าวว่า โครงการศึกษาและวิจัยเครื่องมือสำรวจและประมวลผลสำหรับ SMART CITY ซึ่งทางสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ได้สนับสนุนผลผลิตสำคัญของโครงการ คือ รถอัจฉริยะไร้คนขับจำนวน 2 คัน โดยพัฒนาและผลิตขึ้นในประเทศ ภายใต้ความร่วมมือและการทำวิจัยร่วมกันของ 3 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นแกนหลัก มหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สำหรับการจัดสัมมนาในครั้งนี้จะเป็นการสาธิตเทคโนโลยีรถอัจฉริยะไร้คนขับ ทั้ง 2 คันพร้อมการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับวงการวิชาการของประเทศไทย


ทั้งนี้การดำเนินโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ประเทศไปถึงจุดหมายสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ด้านพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน เนื่องจากพื้นที่ภาคตะวันออกเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ออกแบบมาให้รองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต จำเป็นต้องใช้ระบบนำร่องแม่นยำสูง รัฐบาลจึงได้มอบหมายให้ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นโครงข่ายระบุ พิกัดแบบแม่นยำสูงด้วยสัญญาณดาวเทียม เพื่อให้พื้นที่นี้สามารถรองรับนักลงทุนอุตสาหกรรมแห่งอนาคตได้ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของโครงการที่กำหนดผลผลิตสำคัญคือรถอัจฉริยะที่ขับเคลื่อนได้เองแบบอัตโนมัติด้วยระบบนำร่องจากโครงข่ายระบุพิกัดแบบแม่นยำสูง และมีระบบ ประมวลผลแบบ AI ในรถ คาดว่าจะทำให้สาธารณะและนักลงทุนได้เห็นศักยภาพความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานในการรองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคตของพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษนี้ และเห็นความพร้อมด้านกำลังคนของประเทศไทย อันจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน ขณะเดียวกัน ก็จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดความกระหายในการเรียนรู้ของเยาวชนไทยที่จะเป็นกำลัง สำคัญของประเทศในวันข้างหน้าต่อไป


ด้านรองศาสตราจารย์ ดร.ธนา ราษฎ์รภักดี หัวหน้าโครงการศึกษาและวิจัยเครื่องมือสำรวจและประมวลผลสำหรับ SMART CITY กล่าวว่า โครงการศึกษาและวิจัยเครื่องมือสำรวจและประมวลผล SMART CITY ด้วยทางคณะวิศวกรรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ มหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในนามของผู้จัดงานสัมมนาการสาธิตเทคโนโลยีรถอัจฉริยะไร้คนขับ และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA เพื่อศึกษาและออกแบบเครื่องมือสำรวจ ประมวลผล บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศความละเอียดสูง เพื่อ Smart City ตามหลักวิชาการโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ และเพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาต้นแบบที่ต่อยอดจากการสำรวจ เพื่อเป็นแหล่งพื้นฐานข้อมูลสำหรับการวางแผนการพัฒนาหรือลงทุนในด้านต่าง ๆ หรือใช้เป็นข้อมูลเพื่อการปฏิบัติการสำหรับโครงข่ายระบบการคมนาคมอัจฉริยะ โดยได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ในระดับล่างจนไปถึงระดับสูง ที่สร้างขึ้นมาโดยฝีมือคนไทย เพื่อในอนาคตก่อให้เกิดแรงบันดาลใจกับนักวิจัยและคนรุ่นใหม่ในการพัฒนางานด้านเทคโนโลยียานยนต์ที่สามารถขับเคลื่อนด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องมีคนควบคุมในเมืองไทย ขึ้นไปเทียบเคียงกับต่างประเทศที่ปัจจุบันอยู่ในระดับ 3-4

 

เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดทุกกระแสร้อนชลบุรี-พัทยา กดรับข่าว “พัทยานิวส์”ผ่านไลน์ได้แล้ววันนี้